เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 5. อนังคณสูตร

พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น
ดังนั้น ภิกษุนั้น ก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า 'อุบาสิกาทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา' ความโกรธ
และความไม่แช่มชื่น ทั้ง 2 นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
'โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้จีวรอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้จีวรอันประณีต' แต่
เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้จีวรอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้จีวรอันประณีต ดังนั้น
ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า 'ภิกษุอื่นได้จีวรอันประณีต เราไม่ได้
จีวรอันประณีต' ความโกรธ และความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
"โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้บิณฑบาตอันประณีต ฯลฯ เสนาสนะอันประณีต ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต'
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้คิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า
'ภิกษุอื่นได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต เราไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอัน
ประณีต' ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน
ท่านผู้มีอายุ คำว่า 'กิเลสเพียงดังเนิน' นี้ เป็นชื่อแห่งอิจฉาวจรทั้งหลายที่
เป็นบาปอกุศล

อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล

[61] ท่านผู้มีอายุ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละ
ไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้ว่าภิกษุนั้นจะเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีเสนาสนะ
อันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมองก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :52 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 5. อนังคณสูตร

นับถือ บูชาภิกษุนั้นเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ ภาชนะสำริดที่เขานำมา
จากร้านตลาดหรือจากตระกูลช่างทอง เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส พวกเจ้าของพึงใส่ซากงู
ซากสุนัข หรือซากศพมนุษย์จนเต็มภาชนะสำริดนั้น ปิดด้วยภาชนะสำริดใบอื่นแล้ว
นำไปยังร้านตลาด คนเห็นภาชนะสำริดนั้นแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ
สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร ดูเหมือนจะเป็นของที่น่าพอใจอย่างยิ่ง' เขาลุกขึ้นเปิดภาชนะ
สำริดนั้นดู ความไม่พอใจ ความเป็นของปฏิกูล และความเป็นของน่ารังเกียจจึงเกิดขึ้น
พร้อมกับการเห็นซากงูเป็นต้นนั้น แม้คนที่หิวก็ไม่ต้องการจะบริโภค ไม่ต้องกล่าว
ถึงคนที่บริโภคอิ่มแล้ว แม้ฉันใด อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้ภิกษุนั้นจะเป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร มีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก
นุ่มห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมองก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็
ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุรูปนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจร
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่ภิกษุรูปนั้นยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่
[62] อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว
ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน รับนิมนต์ ครองจีวร
ของคหบดีก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นภิกษุรูปนั้นละได้แล้ว ยังปรากฏ
และเล่าขานกันอยู่ ภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาดหรือจากตระกูลช่างทอง
เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส เจ้าของใส่ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีทั้งหลาย ที่เลือกของสกปรก
ออกแล้วใส่แกงและกับข้าวหลายอย่างจนเต็มภาชนะสำริดนั้นปิดด้วยภาชนะสำริด
ใบอื่นแล้วนำไปยังร้านตลาด คนเห็นภาชนะสำริดนั้นแล้วพึงพูดอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้
เจริญ สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร ดูเหมือนจะเป็นของที่น่าพอใจอย่างยิ่ง' เขาลุกขึ้น
เปิดภาชนะสำริดนั้นดู ความพอใจ ความเป็นของไม่น่าปฏิกูล และความเป็นของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :53 }